ประตูกันรังสี (anti radiation door) คืออะไร ใช้ทำอะไร
ประตูกันรังสี (Anti-radiation door) คือ ประตูที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของรังสีไอออนไนซ์ มักจะใช้กับสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูงอย่างโรงพยาบาล คลินิก ห้องแลป ห้องเอกซเรย์ และสถานประกอบพยาบาลอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รังสีแพร่กระจายออกนอกห้องการรักษา ประตูประเภทนี้มักจะผลิตด้วยวัสดุหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือสารผสมที่มีคุณสมบัติในการดูดซับหรือสะท้อนรังสีได้ดี ในบทความนี้เราจะยังพูดถึง ข้อดีและข้อควรระวังของ ประตูป้องกันรังสี ซึ่งของเลยว่ามีประโยชน์มาก ๆ สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับประตูประเภทนี้
ข้อดีของ ประตูกันรังสี จากแบรนด์ HPK
-
ระบบควบคุม (Control System)
ประตูกันรังสี มีข้อดี คือ ถูกออกแบบให้มีการควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 64 บิตที่ทันสมัย และมอเตอร์ไร้แปรงไฟฟ้า 24 โวลต์ ระบบนี้มีฟังก์ชันการเรียนรู้อัตโนมัติ และสามารถตรวจหาและหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้เอง
-
ผิวประตู (Door Finishes)
ประเภทของผิวประตู ลูกค้าสามารถเลือกใช้วัสดุได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแลมิเนต, กระจกนิรภัย หรือสแตนเลส นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกผสมผสานวัสดุเหล่านี้เพื่อใช้กับประตูที่ต้องการได้อีกด้วย
-
กรอบประตู (Door Frame & Jamb)
วงกบ ประตูตะกั่วกันรังสี ทำจากวัสดุอะลูมิเนียมทั้งชิ้น ทำให้ได้ผลงานที่ทันสมัย สมบูรณ์แบบ
-
ความปลอดภัย (Safety)
ประตูแต่ละชุดมีระบบคานนิรภัยแบบ double- lines ประตูจะหยุดและถอยหลังเมื่อตรวจพบสิ่งกีดขวาง
-
การติดตั้งและบำรุงรักษา (Installation & Maintenance )
anti radiation door ติดตั้งง่าย ไม่เสียค่าบำรุงรักษา ที่สำคัญไม่ต้องเดินสายไฟหรือปรับอะไรมาก แค่กดสวิตช์ให้ระบบทำงาน จากนั้นประตูก็จะทำหน้าที่ของมันได้เอง ไม่ต้องใช้ความยุ่งยาก หรือซับซ้อนใด ๆ
-
ความเข้ากันได้ (Compatibility)
สามารถเข้ากันได้กับระบบควบคุมการเข้า-ออก หรือระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้
-
อุปกรณ์เสริม (Accessories)
มีล็อคแม่เหล็กหรือแบตเตอรี่สำรองให้เลือกตามความต้องการของลูกค้า
แนะนำประตูป้องกันรังสี รุ่นขายดีของ HPK
ขอแนะนำ ประตูกันรังสี HPK Anti-Raditation Door รุ่นขายดีของ HPK ก็คือ Automatic Lead Insert - Specification ( Model HDX1200 / 1500 / 1800)
Specification | |
Max, Door Weight | 150kg |
Lead-board Thickness | 2mm |
Manual Opening Force | <37N |
Controller | 8-bits |
Motor | DC 24v 65w |
Power | AC 200-250V 60Hz |
Working Temperature | -20°C~+50°C |
EMC Compliance | 89/31/EEC,93/68/EEC |
ประตูตะกั่วกันรังสี ใช้สำหรับห้องเอกซเรย์, ห้อง CT, และห้องปฏิบัติการที่ต้องการป้องกันรังสี กระจกตะกั่ว (lead glass) เหมาะสำหรับการป้องกันรังสีโดยเฉพาะ สามารถให้การป้องกันรังสีได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังโปร่งใส ง่ายต่อการสังเกตการณ์
ข้อควรระวังในการใช้ ประตูป้องกันรังสีเอกซเรย์
-
ควรระวังเรื่องการใช้งาน ประตูกันรังสี:
- ปิด ประตูกันรังสี ทุกครั้งก่อนเริ่มการฉายรังสีเอกซเรย์
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าประตูปิดสนิท ไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือช่องว่าง
- ห้ามเปิดประตูระหว่างการฉายรังสีเด็ดขาด
-
ควรระวังเรื่องการบำรุงรักษา ประตูป้องกันรังสีเอกซเรย์:
- ตรวจสอบ ประตูป้องกันรังสีเอกซเรย์ เป็นประจำเพื่อดูรอยแตก หรือรอยบุ๋ม
- ตรวจสอบซีลประตูเป็นประจำเพื่อป้องกันการสึกหรอ
- ทำความสะอาดประตูด้วยผ้านุ่มและน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่กัดกร่อน
-
ควรระวังเรื่องความปลอดภัย:
- ห้ามทำการดัดแปลงประตูโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- อย่าปล่อยให้ประตูชำรุด หรือเสียหาย
- แนะนำวิธีการใช้ประตู ประตูป้องกันรังสี อย่างถูกต้องให้กับเจ้าหน้าที่
คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับประตูกันรังสี
ประตูกันรังสีมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?
โดยทั่วไป ประตูกันรังสี จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10-20 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ประเภทมีวัสดุและวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน
- ความถี่บ่อยในการใช้งาน
- การบำรุงรักษา
- สภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิสูง หรือมีสารเคมี จะทำให้ ประตูป้องกันรังสีเสื่อมสภาพเร็วกว่า
ประตูป้องกันรังสีเอกซเรย์ มีอันตรายหรือไม่?
ประตูป้องกันรังสีเอกซเรย์ ไม่มีอันตรายสำหรับการใช้งานปกติ เพราะประตูเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้ใช้งานจากรังสีที่เป็นอันตราย เช่น รังสีเอ็กซเรย์ รังสีแกมมา และรังสีนิวตรอน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการติดตั้ง วัสดุที่ใช้ รวมถึงความมีมาตรฐานของประตู ดังนั้นคุณจึงควรเลือกซื้อประตูจากแหล่งหรือบริษัทที่เชื่อถือได้เท่านั้น
ประตูกันรังสีมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน?
ปกติ ประตูกันรังสี ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันโดนเฉพาะ แต่ความมีประสิทธิภาพอาจจะแตกต่างกัน ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- ความ specific ว่าประตูนั้นๆออกแบบมาเพื่อป้องกันรังสีชนิดไหน ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีชนิดนั้นก็จะสูงมาก
- วัสดุที่ใช้ทำประตู เช่น ตะกั่ว ทังสเตน บอเรต คอนกรีต โพลีเมอร์ ล้วนมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีที่แตกต่างกัน
- ความหนาของประตู ประตูที่หนากว่า ย่อมมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีมากกว่า
- ประตูที่ติดตั้งอย่างถูกต้อง จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีมากกว่า
บทสรุป
ประตูกันรังสี เป็นประเภทประตูที่มีความสำคัญในสถานพยาบาล และโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถป้องกันในเรื่องของความปลอดภัยได้แนะนำให้ติดต่อกับบริษัทจำหน่ายที่น่าเชื่อถือเท่านั้น อย่าง HPK บริษัทของเรามีความเชี่ยวชาญทางด้านประตูต่าง ไม่ว่าจะเป็นประตูอัตโนมัติ, ประตูห้องผ่าตัด รวมถึงประตูกันรังสี มีทีมงานและช่างที่มีความชำนาญการทางด้านการติดตั้งและการให้คำปรึกษาพร้อมดูแลลูกค้าทุกท่าน
หากต้องการสอบถามรายละเอียดสามารถติดต่อบริษัท ซีเอ ออโตเมติค เกทส์ จำกัด ได้ที่ 02-147-3164 , 08-4722-2944 , 086-000-1516 หรือแอดไลน์ @HPKTHAILAND